ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกสื่อการสอนออนไลน์การตลาดเพื่อธุรกิจโรงแรม

บทที่ 8 การเลือกสรรและการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย

การจัดจำหน่าย (Distribution)

                หมายถึง โครงสร้างของช่องทางที่ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าจากธุรกิจไปยังตลาด ตัวกลางทางการตลาดเป็นธุรกิจที่ช่วยเสริมช่วยขายและจำหน่ายสินค้าไปยังผู้ซื้อขั้นสุดท้าย ประกอบด้วย

                1. คนกลาง (Middleman)

                - พ่อค้าคนกลาง (Merchant Middlemen)

                - ตัวแทนคนกลาง (Agent Middlemen)

                2. ธุรกิจที่ทำหน้าที่กระจายสินค้า

                3. ธุรกิจที่ให้บริการทางการตลาด

                4. สถาบันการเงิน

ความหมายของช่องทางการจัดจำหน่าย

                ช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution) หมายถึง “กระบวนการในการจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย สิทธิในตัวผลิตภัณฑ์ (และอาจรวมถึงตัวผลิตภัณฑ์) จากผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค

หน้าที่ของช่องทางการจัดจำหน่าย

                คนกลางที่ถูกกล่าวถึงในช่องทางการจัดจำหน่าย เข้ามาทำหน้าที่ต่าง ๆ ในกระบวนการที่จะนำสินค้าและบริการไปสู่การบริโภค เพื่อแก้ปัญหาความหลากหลายทางด้านสถานที่ เวลา การเคลื่อนย้ายสินค้าในระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค

หน้าที่หลักของคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย

                1.  รวบรวมข่าวสารข้อมูลการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคปัจจุบัน และผู้บริโภคในอนาคต คู่แข่งขัน และข้อมูลอื่น ๆ ทางการตลาด

                2.  สื่อสารการตลาดกับผู้บริโภคเพื่อกระตุ้นการซื้อ

                3.  เจรจาต่อรองเพื่อบรรลุข้อตกลงในด้านเงื่อนไขการซื้อขาย  เช่น ด้านราคา เงื่อนไขอื่น ๆ สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตจัดหา

                4.   แหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนสินค้าคงคลังในระดับต่าง ๆ

                5.  รับภาระความเสี่ยงจากการเก็บรักษาสินค้า

                 6.  การเคลื่อนย้ายสินค้าและคลังสินค้า

                7.  การชำระเงินโดยผ่านระบบธนาคารและสถาบันการเงิน

                 8.  การโอนย้ายสิทธิความเป็นเจ้าของสินค้าในแต่ละช่องของการจัดจำหน่าย

                หน้าที่ทั้งหมดของช่องทางการจัดจำหน่าย ทำให้เกิดการไหล (Flow) 5 ประเภท ซึ่งรวมกันเป็นกลไกสำคัญในการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่

                1.  การไหลของสินค้า

                2.  การไหลของสิทธิความเป็นเจ้าของ

                3.  การไหลของการชำระเงิน

                4.  การไหลของข้อมูล

                5.  การไหลของการส่งเสริมการตลาด

จำนวนระดับของช่องทางการจัดจำหน่าย

                จำนวนระดับช่องทางการจัดจำหน่าย หมายถึง จำนวนระดับคนกลางภายในเส้นทางที่ผลิตภัณฑ์และ/หรือกรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์เคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังตลาด มีด้วยกัน 2 ประเภทคือ

                1. ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง

                ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง หมายถึง การขายผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมโดยไม่มีคนกลาง หรือช่องทางศูนย์ระดับ

                ผู้ผลิต > ผู้บริโภค

                ผู้ผลิต > ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม

                2. ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม

                ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม หมายถึง เส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตโดยต้องผ่านคนกลางไปยังผู้บริโภค

                ช่องทางการจัดจำหน่ายหนึ่งระดับ ผู้ผลิต > ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค

                ช่องทางการจัดจำหน่ายสองระดับ ผู้ผลิต > ผู้ค้าส่ง > ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค

                ช่องทางการจัดจำหน่ายสามระดับ ผู้ผลิต > ตัวแทน > ผู้ค้าส่ง > ผู้ค้าปลีก > ผู้บริโภค

ประเภทของตัวกลางทางการตลาด

                ตัวกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคลหรือองค์กร ทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนในกระบวนการย้ายสินค้าและสิทธิในตัวสินค้า จากผู้ผลิตมายังผู้บริโภค โดยตัวกลางประกอบด้วย

วิธีการจำหน่ายห้องพัก

ธุรกิจโรงแรมมีวิธีการจำหน่ายห้องพักแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

                1. การจำหน้ายโดยตรง

                2. การจำหน่ายผ่านตัวกลางการจัดจำหน่าย

1. การจำหน่ายโดยตรงจากตัวโรงแรม

                การจำหน่ายโดยตรงของโรงแรมทำได้หลายวิธี เช่น

                1.1 เดินเข้ามาจอองโรงแรมโดยตรง

                1.2 จองทางโทรศัพท์

                1.3 จองทางโทรสาร

                1.4 จองผ่านอินเทอร์เน็ต

2. การจำหน่ายผ่านตัวกลางการจัดจำหน่าย

                 การจำหน่ายผ่านตัวกลางการจัดจำหน่ายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

                2.1 การจำหน่ายโดยผ่านตัวแทนและโรงแรมในเครือข่าย

                2.1.1 การแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายของโรงแรม

                2.1.2 การจำหน่ายผ่านโรงแรมในเครือและสำนักงานระดับภูมิภาค

                2.2 การจำหน่ายผ่านตัวกลางการจัดจำหน่ายอื่น ๆ

                2.2.1 แทรเวล เอเจนซี่

                2.2.2 บริษัททัวร์

                2.2.4 บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว

                2.2.5 ระบบการจองโดยคอมพิวเตอร์ของสายการบิน

                2.2.6 พันธมิตรทางธุรกิจ

                2.2.7 คอนซอร์เตียม

คุณลักษณะสำคัญของช่องทางการจัดจำหน่าย และวิธีการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย

                1. การจัดจำหน่ายโดยตรง

                1.1 เดินเข้ามาจองโรงแรมโดยตรง (walk - in) ลูกค้าบางคนไม่สามารถจองโรมแรมล่วงหน้า เมื่อต้องการพักจึงเข้าไปติดต่อโรงแรมโดยตรงซึ่งเรียกว่า Walk-in Guest ในกรณีนี้พนักงานต้อนรับส่วนหน้า (Receptionist) จะเป้นผู้เสนอราคาให้ลูกค้า

                ประสิทธิภาพของการขายลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือพนักงานต้อนรับส่วนหน้าจะเป็นผู้ให้การต้อนรับและเสนอราคาที่เหมาะสม เนื่องจากลูกค้าแบบ Walk-in Guest ถือว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่โรงแรมจะขายห้องพักได้เพิ่มในช่วงเวลาสุดท้าย (ถ้าขายไม่ได้ห้องพักจะว่างและไม่อาจสร้างรายได้ของคืนนั้นให้กับโรงแรม) พนักงานจึงต้องมีความรู้ในเรื่องราคาและเงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ ของห้องแต่ละประเภท มีเทคนิคการขาย มีการสังเกตปฏิกิริยาของแขก และมีการเจรจาด้วยท่าทีที่เหมาะสม เพื่อให้แขกพอใจและตัดสินใจจองห้องพัก การขายแบบนี้ถือว่าเป็นการเพิ่มรายได้ในโอกาสสุดท้ายโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

                1.2 จองทางโทรศัพท์ (By Telephone) ยังเป็นที่นิยมกันมากสำหรับการจองภายในประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดเดียวกันหรือใกล้เคียง โดยทั่วไปแผนกรับจองห้องพัก (Reservations) ทำหน้าที่รับจองแบบบุคคลและแผนกขายทำหน้าที่รับจองแบบกลุ่ม

                ประสิทธิภาพของการรับจองลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ

                1. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่ ความสะดวกของคู่สายโทรศัพท์ในการติดต่อ เช่น จำนวนหมายเลขเพียงพอ ความชัดเจนของเสียง มีสายว่างให้ลูกค้าโทรเข้าได้ตลาดเวลา

                2. ผู้รับจองห้องพักจะต้องมีความรู้และปฏิภาณไวพริบ เช่น มีความรู้เรื่องรายละเอียดของห้องพัก และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ราคา ข้อเสนอพิเศษ มีความรู้ภาาาต่างประเทศในระดับที่สื่อสารได้ดีและมีการใช้เทคนิคการขายที่โน้มน้าวให้ผู้ที่โทรศัพท์มาต้องการซื้อ

                1.3 จองทางโทรสาร (By Facsimile Transmission) เป็นที่นิยมสำหรับการจองในประเทศเดียวกันและจากต่างประเทศ โดยเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทางโทรศัพท์ ในอดีตการจองแบบนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 หรือหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาลูกค้าเริ่มจองโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้โทรสารได้รับความนิยมน้อยลง

                ประสิทธิภาพของการรับจองลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ

                1. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ความสะดวกของคู่สายโทรสารในการติดต่อ เช่น มีจำนวนหมายเลขพอและสายว่างพอให้ลูกค้าส่งโทรสารได้โดยไม่ติดขัด

                2. การตอบโทรสารจะต้องมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ผู้ตอบควรคำนึงถึงความแตกต่างของเวลาในแต่ละซีกโลกเพื่อให้ลูกค้าได้คำตอบในเวลาที่เหมาะสม โดยทั่วไปโรงแรมระดับสากลนิยมส่งคำตอบให้ลูฏค้าภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากที่ได้รับโทรสาร โดยคำนึงถึงเวลาในแต่ละประเทศของลูฏค้าเป็นหลัก นากจากตอบได้ในเวลาที่เหมาะสมแล้ว ข้อมูลที่ตอบควรถูกต้องและครอบคลุมทุกคำถามที่ผู้ซื้อต้องการได้อย่างสมบูรณ์

                1.4 จองโดยผ่านอินเทอร์เน็ต (By Internet) การจองแบบนี้เริ่มนำมาใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2541 เป็นต้น โดยโรงแรมแบบเครือข่ายเป็นผู้นำมาใช้ก่อน การจองแบบนี้นับว่าเป็นการปฏิวัติทางการสื่อสารระหว่างโรงแรมกับลูกค้า เพราะลูฏค้าสามารถติดต่อโรงแรมโดยตรง สามารถดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงาน และสามารถจองได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว

                ประสิทธิภาพของการรับจองลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญคือ คุณภาพและประสิทธิภาพของเว็บไซต์ (Website) ควรมีความสวยงาม ควงามสะดวกและรวดเร็วในการเข้ามาเยี่ยมในเว็บไซต์ เพื่อดึงดูดความสนใจและกระตุ้นความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้เว็บไซต์จะต้องให้ความสะดวกในการรับจอง เมื่อลูกค้ามีคำถามก็ควรตอบกลับในเวลามที่เหมาะสมและมีเงื่อนไขการชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย

                2. การจำหน่ายผ่านตัวกลางการจำหน่าย

                2.1 การจำหน่ายผ่านตัวแทนและโรงแรมเครือข่าย

                2.1.1 การแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายของโรงแรม (Hotel Representatives)

            โรงแรมแบบอิสระและโรงแรมเครือข่ายระดับประเทศ ซึ่งไม่มีสำนึกงานขายในต่างประเทศ นิยมมีตัวแทนฝ่ายขายอยู่ในภูมิภาคหรือประเทศที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยโรงแรมมักว่าจ้างตัวแทนคนท้องถิ่นทำการขายในประเทศนั้น ๆ เพราะมีความสามารถในการสื่อสารภาษาเดียวกันกับกลุ่มลูกค้า การว่าจ้างตัวแทนมักจะทำสัญญาเป็นรายปีหรือราย 2-3 ปี การต่อสัญญาจะดูจากผลงาน ซึ่งคือปริมาณการขายโดยตัวแทนนั้นรายได้ของตัวแทนมาจากเงินเดือนหรือคอมมิชชั่นหรือทั้ง 2 ชนิด

                ประสิทธิภาพของช่องทางนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญคือ

                1. ผู้เป็นตัวแทนของโรงแรมจะต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ในธุรกิจท่องเที่ยวและรู้จักลูกค้าในตลาดของตนอย่างกว้างขวาง

                2. ผลิตภัณฑ์และราคามีความเหมาะสมต่อความต้องการซื้อของลูกค้าในตลาดนั้น

                3. มีสื่อในการขายที่เหมาะสม โดยมีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย เช่น วีซีดี (VCD) ซีดีรอม (CD Rom) โบรชัวร์ (Brochure) เป็นต้น

                2.1.2 การจำหน่ายผ่านโรงแรมในเครือและสำนักงานระดับภูมิภาค (Chain Hotels and Regional Sales Officers or RSO)

                โรงแรมแบบเครือข่ายระดับสากลสามารถอำนวยความสะดวกในการรับจองโรงแรมให้กับลูกค้าสำหรับโรงแรมในเครือเดียวกันจากภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยโรงแรมแบบเครือข่ายได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจองของตนเองเพื่อให้ลูกค้าจองได้ทั่วโลก

                2.2 การจำหน่ายผ่านตัวกลางการจัดจำหน่ายอื่น ๆ (Intermediaries) เป็นจำหน่ายผ่านธุรกิจอื่น ๆ ที่มีลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

                2.2.1 แทรเวล เอเจนซี่ (Travel Agency) คือ ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้เป็นตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในความหมายแบบสากลแทรเวล เอเจนซี่ มักขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากราคาบนใบแจ้งราคา (Tariff) พักต่อคืน โดยทั่วไปแทรเวล เอเจนซี่จะไม่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาเอง แต่เป็นตัวแทนขายให้กับธุรกิจท่องเที่ยวอื่น ๆ สำหรับประเทศไทย

                ประสิทธิภาพของช่องทางนี้ขึ้นอยู่กับ

                1. การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายรับจองห้องพัก ฝ่ายขายของโรงแรมกับแทรเวล เอเจนซี่

                2. การจ่ายค่าคอมมิชชั่น (Commission) ได้ถูกต้องและตรงเวลา

                3. ความชัดเจนของราคาห้องพักในแต่ละฤดูกาล และราคาพิเศษต่าง ๆ ที่ทางโรงแรมเสนอให้แทรเวล เอเจนซี่ขาย

                4. การจัดทำโปรแกรมให้พนักงานขายมาเยี่ยมชมโรงแรม (Familiarization Trip) เพื่อให้มีประสบการณ์ตรง และสามารถนำความรู้ไปอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจได้

                5. การจัดโปรชัวร์ให้แทรเวล เอเจนซี่เพียงพอสำหรับแจกลูกค้าที่ต้องการทราบรายละเอียดของโรงแรม

                2.2.2 บริษัททัวร์ (Tour Operator หรือ Your Wholesaler) หมายถึง ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ทำการซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยว เช่น ห้องพักและตั๋วเครื่องบินในปริมาณมาก แล้วนำมาประกอบเป็นแพ็คเก็จเพื่อขายให้กับลูกค้าหรือแทรเวล เอเจนซี่ โรงแรมจะมีการเจรจาและตกลงทำสัญญากับบริษัททัวร์ โดยระบุราคาห้องพัก (Contract Rate) จำนวนห้องที่จองไว้ให้ต่อคืน (Allotment) วันที่บริษัททัวร์ต้องส่งคืนห้องพัก (Cut off Date) และรายละเอียดการชำระเงิน (Credit Terms) เพื่อให้การทำงานระหว่างโรงแรมกับบริษัททัวร์เป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลง บริษัททัวร์ถือว่าเป็นตัวหัวใจของธุรกิจโรงแรมประเภทรีสอร์ท เนื่องจากบริษัททัวร์นิยมทำแพ็คเก็จทัวร์มีคุณภาพและสามารถส่งลูกค้าได้ตรงตามจำนวนห้องพักที่จองไว้ให้ต่อคืนได้ ก็จะทำให้โรงแรมประมาณการจำนวนห้องพักต่อคืนในทุก ๆ คืนได้ระดับหนึ่ง จุดด้อยก็คือ อัตราค่าห้องพักต่ำ

                ประสิทธิภาพของช่องทางนี้ขึ้นอยู่กับ

                1. ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้แทนฝ่ายขายของโรงแรมกับบริษัททัวร์

                2. ความเหมาะสมของราคาห้องพัก จำนวนห้องพักที่โรงแรมจองไว้ให้บริษัททัวร์ต่อคืน และวันที่ขอให้บริษัททัวร์ส่งคืนห้องพัก

                3. การให้บริการที่เสมอต้นเสมอปลายและเป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญา เพื่อให้การทำงานระหว่างโรงแรมกับบริษัททัวร์ เป็นไปด้วยความราบรื่น

                4. การจัดหาสไลด์ที่ชัดเจนและเหมาะสม เพื่อให้บริษัททัวร์นำไปจัดพิมพ์โปรชัวร์ได้อย่างสวยงาม

                2.2.3 บริษัทจัดการประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวแบบเป็นรางวัลให้กับบริษัทเอกชน สมาคม และองค์กรต่าง ๆ บริษัทประเภทนี้มักจะทำธุรกิจกับโรงแรมและบริษัทท่องเที่ยวอื่น ๆ เพื่อวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวและการประชุมให้กับกลุ่มลูกค้าของตน ถ้ามีการทำธุรกิจกับโรงแรมในจำนวนมากและบ่อยครั้ง โรงแรมอาจเสนอสัญญาให้เป็นรายปี หรือเสนอราคาพิเศษสำหรับกรุ๊ป บริษัทอาจเจรจาต่อรองเงื่อนไขพิเศษสำหรับการจองห้องพักปริมาณมาก เช่น ห้องพักแบบสมนาคุณ (Complimentary) สำหรับผู้จัด หรือขอยกระดับห้องพักให้กับลูกค้าพิเศษ (V.I.P.) ของกรุีป

                ประสิทธิภาพของช่องทางนี้ขึ้นอยู่กับ

                1. แพ็คเก็จสำหรับเสนอขาย (Sale Kits) หรือวิซีดี (VCD) ที่มีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์บริการและเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลอย่างละเอียด

                2. ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายของโรงแรมกับบริษัทนั้น ๆ

                3. การประสานงานและความร่วมมือของทุกแผนกที่เกี่ยวข้อง

                4. การให้บริการที่มีประสิทธิผภาพ และถูกต้องตามข้อตกลง

                บริษัทจัดการประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวแบบเป็นรางวัลเป็นตัวกลางที่เหมาะสมสำหรับโรงแรมขนาดกลางจนถึงโรงแรมขนาดใหญ่มาก ที่สามารถรองรับกลุ่มประชุมและมีห้องประชุมขนาดต่าง ๆ ตัวกลางนี้มีความสำคัญกับโรงแรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งลูกค้าประเภทนักท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนมีปริมาณน้อยลง

                2.2.4 บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Company or DMC) เป็นบริษัทที่ขายบริการโดยการเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทลูกค้าได้แก่ บริษัทเอกชนและธุรกิจโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยวอื่น ๆ บางครั้งบริษัทจัดการประชุมจากต่างประเทศมักนิยมใช้บริการ DMC เช่นกัน เนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ความเหมาะสมของโรงแรม การจัดโปรแกรมทัวร์ต่าง ๆ บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นผู้ที่สามารถจัดการท่องเที่ยวแบบเป็นรางวัลได้ดี DMC เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมสำหรับโรงแรมขนาดกลางขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมแบบรีสอร์ทระดับดีลักซ์

                ประสิทธิภาพของช่องทางนี้ขึ้นอยู่กับ

                1. ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายของโรงแรมกับบริษัทนั้น ๆ

                2. ความเหมาะสมของราคาห้อง และราคาอาหารเสนอให้ลูกค้า ราคาจะต้องแข่งขันได้เมื่อเทียบกับโรงแรมคู่แข่ง

                3. ข้อเสนอพิเศษที่โรงแรมให้กับ DMC เช่น ห้องสมนาคุณ (Complimentary) สำหรับหัวหน้าทัวร์ (Tour Leader) การยกระดับห้องพัก (Upgrade) ให้กับลูกค้าพิเศษ (V.I.P.)

                4. การประสานงานระหว่างตัวแทนฝ่ายขาย และเจ้าหน้าที่โรงแรมที่ดูแลกรุ๊ปกับตัวแทนของบริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว

                2.2.5 ระบบจองโดยคอมพิวเตอร์สายการบิน (Airlines' Computer Reservation System or CRS)

                สายการบินได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายสำหรับการขายตั๋วเครื่องบินในช่วง ค.ศ. 1970 ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2523 ต่อมาระบบคอมพิวเตอร์ของสายการบินถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการขายสินค้าด้านท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น ห้องพัก บัตรโดยสารรถไฟ ฯลฯ นอกจากสายการบิน ผู้ที่ใช้ระบบก็คือ แทรเวล เอเจนซี่ ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกรายปีของระบบนั้น ๆ

                ผู้ขายสินค้า เช่น โรงแรมจะต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีให้กับระบบที่ตนเองต้องการใช้เป็นตัวกลางในการขาย และแทรเวล เอเจนซี่ ต้องเสียค่าสมาชิกรายปี เพื่อให้สามารถใช้รหัสผ่านเข้าระบบเพื่อเข้าไปดูข้อมูลและทำธุรกรรมได้ ระบบ CRS ถือเป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลและการจองของแทรเวล เอเจนซี่ จึงมีวามสำคัญต่อโรงแรมที่มีลูกค้าจากต่างประเทศ

                ปรพสิทธิภาพของช่องทางนี้ขึ้นอยู่กับ

                1. ราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่โรงแรมส่งให้ระบบ CRS ในแต่ละช่วงเวลาของปี โดยจะต้องถูฏต้องและทันกาลตลอดเวลา

                2. การเลือกสรรระบบ CRS ที่มีเครือข่ายครอบคลุมในภูมิภาคที่มีกลุ่มเป้าหมาย

                2.2.6 พันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliance)

                ปัจจุบันธุรกิจที่มีส่วนสนันสนุนกันนิยมสร้างเครือข่ายทางการค้าที่เรียกว่าพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเหมาะกับธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งมีลักษณะต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น สายการบินอาจะเป็นพันธมิตรกับโรงแรม เมื่อลูกค้าเดินทางโดยเครื่องบินจะมีการสะสมคะแนนที่เรียกว่า สะสมไมล์ตามระยะทางที่บิน คะแนนที่ได้สามารถนำมาแลกกับการเข้าพักโรงแรม โรงแรมก็จะมีการตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการเก็บเงินจากสายการบินนั้น การมีพันธมิตรอย่างกว้างขวางจะทำให้ขายสินค้าได้เพราะมีการกระตุ้นให้ลูกค้าใช้บริการเพื่อเก็บสะสมคะแนนมากขึ้น

                ประสิทธิภาพของการขายโดยลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลวที่ชัดเจนระหว่างพันธมิตร

                1. เงื่อนไขของจำนวงคะแนนต่อการแลกผลิตภัณฑ์หรือบริการ

                2. ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อคะแนนกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

                3. ข้อจำกัดทางด้านเวลา เช่น เริ่มต้นเมื่อใด และจบลงเมื่อใด

                4. ระบบชำระเงิน

                นอกจากพันธมิตรในลักษณะนี้ ยังมีพันธมิตรในรูปแบบอื่น ๆ เช่น โรงแรมเครือแมริออท ประเทศสหรัฐอเมริกามีความร่วมมือทางการตลาดหรือเป็นพันธมิตรกับโรงแรมเครือโอตานิประเทศญี่ปุ่น ทำให้โรงแรมเครือแมริออทสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันโรงแรมโอตานิก็สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอเมริกันได้มากขึ้น

                2.2.7 การขายโดยผ่านทางคอนซอร์เตียม (Consortium)

                Consortium หมายถึงกลุ่มกิจการหรือกลุ่มบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งร่วมกันหรือเพื่อร่วมมือกันในโคนรงการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่บริษัทสมาชิกทุกบริษัท

                สำหรับธุรกิจโรงแรม หมายถึง การที่โรงแรมอิสระมารวงมตัวกันเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์ทางด้านการตลาด เช่น การรวมตัวของโรงแรมระดับดีลักซ์ โดยใช้ชื่อว่า Hotels of the World, การรวมตัวของโรงแรมชั้นดีขนาดเล็กโดยใช้ชื่อว่า  Small Luxury Hotels of the world เป็นต้น

 

 

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น