ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกสื่อการสอนออนไลน์การตลาดเพื่อธุรกิจโรงแรม

บทที่ 6 มาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย : การส่งเสริมการตลาดรูปแบบใหม่

วัตถุประสงค์ของการจัดทำมาตรฐาน

                1. เพื่อให้มีมาตรฐานโรงแรมอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นหลักเกณฑ์อ้างอิงเชื่อถือได้

                2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและโรงแรมในประเทศไทยไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน

                3. เพื่อเลือกสรรการบริการที่ดีให้แก่ลูกค้า มีการบริหารโรงแรมอย่างมีประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย

                4. เพื่อให้มีการปรับปรุงมาตรฐานโรงแรมที่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง โดยคำนึงถึงการตลาด คุณค่าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้าและสภาพทางกายของโรงแรม

                5. เพื่อเผยแพร่จิตสำนึกในการปรับปรุงมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทยให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

                6. เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน           

ประโยชน์ในการจัดทำมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย

                1. สำหรับอุตสาหกรรมในโรงแรมโดยรวม

                 - ยกระดับมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย โดยเฉพาะมาตรฐานด้านความปลอดภัย สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และการบริการ

                - มีระบบมาตรฐานโรงแรมที่สามารถอ้างอิงและเชื่อถือได้

                - เกิดการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาด้านโรงแรม

                - ก่อให้เกิดการพัฒนาโรงแรมในประเทศไทย และทำให้อุตสาหกรรมโรงแรมสำหรับประเทศไทย เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

                - เพิ่มช่องทางการคุ้มครองผู้บริโภค

                - เผยแพร่จิตสำนึกในการปรับปรุงมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย ได้อย่างต่อเนื่อง

                2. ประโยชน์สำหรับโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน

                - สามารถส่งมอบการบริการที่ดีและมีคุณภาพให้แก่ลูกค้า

                - เพิ่มมูลค่าของสินค้าและการบริการ

                - การบริหารโรงแรมให้มีประสิทธิภาพ ลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น ทำให้สามารถลดการลงทุนที่เกินความจำเป็น

                - ส่งเสริมการตลาด การขายของโรงแรมให้สามารถแข่งขันกันด้วยความเป็นธรรม และสอดคล้องกับสภาพตลาดความต้องการของลูกค้าและสภาพทางกายภาพของโรงแรม

องค์กรรับรองมาตรฐานโรงแรม

                1. แนวทางของการดำเนินการจัดทำมาตรฐานโรงแรมในต่างประเทศ

                ลักษณะระบบมาตรฐานที่มีใช้อยู่ในต่างประเทศ ปัจจุบันมีความแตกต่างกันไปหลากหลายขึ้นอยู่กับว่าเป็นการควบคุมของภาครัฐบาลหรือเอกชน โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้คือ

                1.1 ภาครัฐกำหนดมาตรฐานและตรวจสอบ

                ในหลายประเทศ เช่น ประเทศกรีซ ภาครัฐเป็นผู้กำหนดมาตรฐานโรงแรม และมีคณะกรรมการการตรวจสอบของภาครัฐเป็นผู้ตรวจสอบ จัดอันดับ รวมถึงติดตามตรวจสอบการดำเนินการของโรงแรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ประกอบการนั้นปฏิบัติตามเกณฑ์ต่าง ๆ ที่วางไว้ โดยแต่ละประเทศจะมีระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนต่อการดำเนิน การจัดทำมาตรฐานโรงแรมที่แตกต่างกันไป

                1.2 ภาครัฐกำหนดมาตรฐาน - ภาคเอกชนเป็นผู้ตรวจสอบ

                ในบางประเทศจะเห็นว่าภาครัฐเป็นแกนนำในการกำหนดมาตรฐาน แต่จะไม่ร่วมในการตรวจสอบประเมินผลโรงแรมเพื่อการรับรองมาตรฐาน ภาครัฐอาจว่าจ้างบริษัทเอกชนหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถเพื่อทำการตรวจสอบประเมินผลโรงแรมภายใต้กรอบแนวทางของภาครัฐ โดยภาครัฐจะมีบทบาทอย่างมากในการติดตามประเมินผล การดำเนินการในลักษณะน้จะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนและงบประมาณในการตั้งคณะตรวจสอบของภาครัฐ นอกจากการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจสอบโรงแรมแล้ว ภาครัฐอาจพิจารณาในการให้อนุญาตบริษัทเอกชนอื่น ๆ เป็นผู้ตรวจสอบโดยทำภายใต้กฎหรือข้อกำหนดของรัฐบาล

                1.3 สมาคมโรงแรมกำหนดมาตรฐานและตรวจสอบ

                ในบางประเทศ เช่น ประเทศเยอรมัน การกำหนดมาตรฐานและตรวจสอบโรงแรมดำเนินการโดยสมาคมโรงแรมท้องถิ่น ซึ่งผู้มีอำนาจในการดำเนินการทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐาน หรือการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการตรวจสอบเช่นเดียวกับบทบาทที่ภาครัฐเป็นผู้กำหนดและตรวจสอบในลักษณะนี้

                1.4 ภาคเอกชนกำหนดมาตรฐานและตรวจสอบ

                ในบางประเทศภาครัฐมิได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการมาตรฐานโรงแรม เช่น สหรัฐอเมริกาแต่จะมีบริษัทเอกชน เช่น American Automobile Association และบริษัท Mobil Oil ของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือบริษัท Michelin ในยุโรปเป็นผู้กำหนดมาตรฐานและทำการประเมินโดยมีคณะผู้ตรวจสอบของตัวเอง ความสำเร็จของการดำเนินการลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ประกอบการทั้งหลาย มาตรฐานระบบนี้โรงแรมจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและการไ้รับการจัดอันดับโดยองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งตามปกติแล้วองค์กรเหล่านี้จะไม่เพียงแต่ให้ตราประทับรับรองมาตรฐานแก่โรงแรมเท่านั้น แต่จะช่วยประชาสัมพันธ์โรงแรมที่ได้รับการจัดอันดับเหล่านี้ในหนังสือหรือคู่มือท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่องค์กรเหล่านี้

                2.แนวทางของการดำเนินการจัดมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย

                2.1 ในระยะเริ่มแรก

                โดยแนวความคิดที่จะให้องค์กรรับรองมาตรฐานโรงแรมต้องมีความเป็นกลางและเที่ยงธรรม คณะกรรมการจัดทำมาตรฐานโรงแรมในขณะนั้นมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร และองค์กรที่จะมีลักษณะดังกล่าวได้ชัดเจน ควรมีลักษณะเป็นมูลนิธิ โดยให้ชื่อว่า "มูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว" โดยให้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือจัดทำและรับรองมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย แลพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการ เพื่อให้มีมาตรฐานทัดเทียมระดับสากล

                2.2 ในปัจจุบัน

                ขณะที่มูลนิธิพัฒนามาตรฐานบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยวรณรงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจด้านที่พักให้เข้ามาขอรับการตรวจประเมินมาตรฐาน เป็นเวลาเดียวกันที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายการปฏิรูประบบราชการ โดยการปรับปรุงโครงสร้างของระบบราชการใหม่ และมีการตรากฎหมายออกมา  2 ฉบับ คือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นผลให้เกิดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้น หลังจากนั้นก็ได้มีการโอนภารกิจบางประการของการท่องเที่ยวที่หมายความรวมถึงการเข้ามาดูแลด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวทั้งหมด ดังนั้นสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวจึงได้ทำการศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวทั้งหมด โดยเน้นมาตรฐานทางด้านที่พักก่อน

หลักเกณฑ์การกำหนดมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย

                1. สัญลักษณ์ เพื่อให้สัญลักษณ์เป็นสื่อสากลที่ทุกคนรู้จักกันดี ผู้เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่ายจึงมีความเห็นว่าการใช้สัญลักษณ์ดาวห้าแฉก จะเป็นสัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ดีที่สุด และจัดแบ่งมาตรฐานออกเป็น 5 ระดับ โดยเรียงลำดับจากมาตรฐานน้อย คือ หนึ่งดาว ไปจนถึงระดับมาตรฐานมากที่สุด คือ ห้าดาว

                สัญลักษณ์ที่ทางมูลนิธิมาตรฐานให้จะมี 2 ลักษณะ คือ

                1. ป้ายแสดงศัญลักษณ์มาตรฐาน

                2. เกียรติบัตรรับรองมาตรฐาน

                2.คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

                2.1 เป็นโรงแรมที่ประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทย

                2.2 มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายของประเทศไทย

                2.3 เปิดการให้บริการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

                2.4 ชำระค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินตามระดับมาตรฐานแล้ว

                2.5 ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองสถานประกอบการตามมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ซึ่งกำหนดโดยสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2550

                ในกรณีที่ผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ มีอาคาร (Wing) หลายอาคารและแต่ละอาคารมีระดับมาตรฐานรวมต่างกันและมีห้องพักอาคารไม่น้อยกวาหนึ่งร้อยห้อง ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการสามารถที่จะแยกสมัครเพื่อขอรับมาตรฐานแตกต่างกันได้ โดยแยกใบสมัครและเสียค่าธรรมเนียมตามระดับมาตรฐานนั้น ๆ

                3. การรับรองมาตรฐานโรงแรม

                1. ระยะเวลาของการรับรองมีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการรับรองมาตรฐานที่พักแรม มอบเอกสารการรับรองให้อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทำพิธีรับมอบปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้เว้นแต่ผู้ได้รับรองไม่สามรถรักษามาตรฐานตามที่ได้รับการรับรอง หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในภายหลัง อาจมีการพักใช้หรือยกเลิกรับรองมาตรฐาน

                2. เมื่อครบกำหนดเวลาการรับรองมาตรฐานตามที่กล่าวแล้ว (3 ปี) หากผู้ประกอบการต้องการต่ออายุการรับรองต่อไปอีก ให้แจ้งให้คณะกรรมการตรวจประเมินทราบ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการตรวจตามที่คณะกรรมการมูลนิธิฯ กำหนด โดยไม่ต้องสมัครใหม่อีก

                3. คณะกรรมการตรวจประเมินอาจจะเข้าไปตรวจสอบในระหว่างอายุการรับรองมาตรฐาน หากมีกรณีการร้องเรียนว่าผู้เข้าร่วมโครงการไม่ได้รักษามาตรฐานตามที่ได้รับการรับรอง หรือกรณีที่มีข้อสงสัยว่ามิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานในภายหลัง การตรวจสอบดังกล่าวจะไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

                4. ในระหว่างอายุการรับรอง หากผู้เข้าร่วมโครงการต้องการปรับระดับมาตรฐานต่างไปจากที่ได้รับการประเมิน จขอเปลี่ยนแปลงได้ โดยยื่นเป็นหนังสือให้ทางหน่วยตรวจประเมิน ขอให้ทำการตรวจประเมินใหม่โดยต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจประเมิน เช่นเดียวกับผู้สมัครเข้าร่วมโครงการใหม่ และหากผ่านการประเมินก็จะเริ่มนับเวลาเริ่มต้นของการรับรองในปีนนั้นเช้นเดียวกัน

                4. ผลการตรวจสอบ

                เมื่อคณะกรรมการตรวจประเมินได้ทำการตรวจประเมินผู้เข้าร่วมโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะแจ้งผลการตรวจประเมินพร้อมข้อสังเกตให้คณะกรรมการรับรองมาตรฐานพิจารณา ผลการพิจารณาของคณะกรรมการรับรองจะแจ้งให้รู้เข้ารับการตรวจประเมินให้ทราบ ดังนี้

                1. กรณีผ่านการพิจารณา คณะกรรมการตรวจประเมินจะแจ้งให้ผู้เข้ารับการประเมินทราบ และจะแจ้งถึงข้อสังเกตของคณะกรรมการรับรองมาตรฐาน และข้อที่ควรแก้ไขให้ทราบ (ถ้ามี)

                2. กรณีไม่ผ่านการประเมิน ผู้เข้าร่วมโครงการหรือผู้ขอรับการประเมินสามารถเลือกได้ ดังนี้

                ก. ขอถอนตัวออกจากการเข้าร่วมโครงการ

                ข. ยอมรับผลของการตรวจประเมินในมาตรฐานที่ต่ำกว่าที่ยื่นคำขอ

                ค. ขอปรับปรุงสถานประกอบการตามข้อบกพร่องที่คณะกรรมการแจ้งให้ทราบ ตามระยะเวลาที่กำหนด และขอให้คณะกรรมการตรวจประเมินอีกครั้งหลังจากการปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว

                5. หลักเกณฑ์ในการพิจารณามาตรฐาน

                ในการพิจารณามาตรฐานที่พักแรมในประเทศไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของการวัดมาตรฐานเป็น 3 มาตรฐาน กล่าวคือ

                5.1 มาตรฐานการก่อสร้างและสิ่งอำนวยสะดวก

                5.2 มาตรฐานบำรุงรักษา

                5.3 มาตรฐานการบริการ

มาตรการในการส่งเสริมความส่งเสริมความสำเร็จของการจัดมาตรฐานโรงแรมในประเทศไทย

                ทุกครั้งที่มีการรณรงค์หาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งชมรม สมาคม หรือโครงการอื่นใดก็ตามสิ่งแรกที่พบเห็นในประเทศไทยก็คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสนใจน้อยและไม่อยากให้ใครมาประเมินตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการต้องชำระค่าธรรมเนียมด้วยแล้ว ยิ่งเป็นความยากลำบากยิ่งขึ้นในการทำประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ

                ด้วยเหตุนี้ภาครัฐและภาคเอกชนจึงได้ปรึกษาหารือเพื่อวางแนวทางในการส่งเสริม ผู้ที่เข้าร่วมโครงการให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งแนวทางร่วมกันในการส่งเสริม ดังนี้

                1. ทำการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบว่า ประเทศไทยได้มีการจัดมาตรฐานที่พักแรมแล้ว โดยได้ทำเอกสารเป็นรูปเล่มส่งไป ยังสำนนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยทั้งในและต่างประเทศ บริษัทนำเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รวมตลอดจนสมาชิกของสมาคมท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั้งหมดในเบื้องแรก และมีโครงการขยายการแจกจ่ายเอกสารประชาสัมพันธ์นี้ให้กว่างขวางยิ่งขึ้นในอนาคต รวมตลอดจนการให้มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยว และกีฬา และสมาคมโรงแรมไทยอีกด้วย

                2. ผลักดันให้ส่วนราชการทั้งหมด ให้พิจารณาเลือกใช้สถานที่พักแรมที่มีมาตรฐานในการอบรม สัมมนา ดูงานหรือตรวจงานก่อน โดยจะเป็นลักษณะของการขอความร่วมมือจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือจะผลักดันให้เป็นมติของรัฐมนตรี

                3. หากสถานที่พักแรมที่มีมาตรฐานต้องการปรับปรุงสถานที่อันอาจต้องมีเครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถประหยัดพลังงานได้ในอนาคต ขอให้รัฐบาลรับสถานประกอบการที่พักแรมดังกล่าว เข้าโครงการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมารลงทุน (BOI) เพื่อผลประโยชน์ทางด่านภาษีอากรและแหล่งเงินทุนอกเบี้ยต่ำ

                4. การจัดการอบรมบุคากรของสถานที่พักแรมที่ได้มาตรฐานโดยหน่วยงานของรัฐ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย

                5. ผลักดันให้กระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นนายทะเบียนตามกฎหมายโรงแรม ให้ยอมรับมาตรฐานที่พักแรมว่าเป็นมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดให้สถานที่พักแรมต้องมี ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบธุรกิจด้านที่พักแรมยื่นขอต่ออายุใบอนุญาต จึงควรพิจารณาต่อใบอนุญาตให้ได้ทันทีโดยไม่ต้องมาตรวจสอบอีก

                มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้หากรัฐบาลให้ความสนใจ และพิจารณาให้การส่งเสริมก็จะทำให้การมีมาตรฐานทางด้านที่พักได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการมากขึ้น และจะเป็นการยกระดับมาตรฐานของธุรกิจท่องเที่ยวไทยรวมของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์กับทางนานาประเทศสืบไป

    

อ้างอิง
หนังสือการจัดการตลาดธุรกิจโรงแรม, สมาคมโรงแรมไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น