ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกสื่อการสอนออนไลน์การตลาดเพื่อธุรกิจโรงแรม

บทที่ 2 แนวทางการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด

สินค้าท่องเที่ยวคืออะไร

ก่อนที่จะเข้าสู่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดควรที่จะมาทำความเข้าใจถึงสินค้าทางการท่องเที่ยว เพื่อจะได้รู้จักสภาพทางการตลาดของการท่องเที่ยว ข้อมูลในส่วนนี้จึงได้นำเสนอเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสินค้าท่องเที่ยวที่ต่างไปจากสินค้าบริโภคอื่น ๆ

คำว่า “สินค้า” หลายคนคงจะนึกถึงวัตถุสิ่งของที่ลูกค้าจะสามารถเลือกซื้อโดยการหยิบขึ้นมาดู ดูรายละเอียดของสินค้าทุกแง่ทุกมุมก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าเหล่านั้น เมื่อเทียบกับสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งนี้เพราะคุณลักษณะของสินค้าท่องเที่ยวนั้นพิเศษกว่าสินค้าประเภทอื่นๆ 4 ประการดังนี้

1. สินค้าท่องเที่ยวมีลัีกษณะจับต้องไม่ได้ (intangibility) หมายถึงสินค้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ จับต้องไม่ได้ สัมผัสหรือได้ยิน ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า ผู้ขายไม่สามารถยกเอาสินค้าท่องเที่ยว เช่นน้ำตกไนแองการ่ามาให้นักท่องเที่ยวดูก่อน สัมผัสก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทัวร์ไปเที่ยว บางครั้งเราเรียกสินค้าท่องเที่ยวว่าเป็น Information product เพราะเป็นสินค้าที่ต้องให้ข้อมูลรายละเอียดสินค้ามากที่สุด ดีที่สุด เสมือนจริงที่สุดแทนการนำเสนอสินค้าที่เป็นของจริงให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนการตัดสินใจ

*** ทำอย่างไรที่จะนำนักท่องเที่ยวมาใช้บริการและซื้อสินค้าให้มากที่สุดโดยการนำข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้นักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการติดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

2. สินค้าไม่สามารถแยกส่วนได้ (inseparability) สินค้าบริการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่สามารถแยกเป็นส่วน ๆ ได้อย่างเช่นสินค้าอื่น ทั้งนี้เพราะในการเดินทางไปท่องเที่ยวหนึ่งครั้งจะต้องใช้บริการหลายอย่าง จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เช่น บริการรถขนส่ง ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ร้านขายของที่ระลึก อื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีความสัมพันธ์กันไม่สามารถแยกออกจากกันได้

*** ทำอย่างไรที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างภาคส่วนต่างในอุตสาหกรรมที่ประหยัดค่าใช้จ่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อรายได้ภาคการท่องเที่ยวทั้งนี้จากเหตุผลที่สินค้าเกี่ยวข้องกับธุรกิจจำนวนมาก หากรายได้ภาพรวมมีปัญหาจะกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องจำนวนมากซึ่งจะมากกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น

3. สินค้ามีความแตกต่างกัน (variability) การบริการการท่องเที่ยวมีความแตกต่างกันอย่างมาก ในที่นี้หมายถึงผู้ผลิตแต่ละคน ผู้บริโภคแต่ละคนมีประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งจะมีอิทธิพลที่ไม่สามารถคาดเดาได้ทั้งนี้เพราะเป็นปัจจัยเรื่องคนรวมถึงอารมณ์ ความคาดหวัง ระดับความพึงพอใจและทัศนคติของนักท่องเที่ยว

*** ทำอย่างไรที่จะเข้าใจในพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวเกิดความพึงพอใจกลับมาใช้บริการอีกครั้ง

4. สินค้าสูญเปล่า (perishability) หมายถึงสินค้าท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดเวลาถึงแม้ไม่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการ น้ำตกจะตกต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ถึงแม้จะไม่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการก็ตาม

*** ทำอย่างไรที่จะนำนักท่องเที่ยวมาใช้บริการและซื้อสินค้าให้มากที่สุดเพราะสินค้าท่องเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเพราะมีอยู่แล้ว

5. สินค้าไม่มีความยืดหยุ่น (inflexibility) สินค้าท่องเทียวไม่สามารถปรับให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ เช่นโรงแรมไม่สามารถเพิ่มหรือลดห้องได้หากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวจำนวนมากหรือน้อย

*** ทำอย่างไรในการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้เกิดความลงตัวของจำนวนสินค้าและบริการกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ

จะเห็นได้ว่าสินค้าท่องเที่ยวมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากสินค้าอุตสาหกรรมอื่นอย่างมาก การพัฒนาการท่องเที่ยวจึงต้องพิจารณาไปพร้อมกันทั้งส่วนที่เป็นมหภาค ในระดับมหภาคเช่น การกำหนดนโยบายของรัฐบาลในการสร้าง กระตุ้น สนับสนุน เชิญชวนให้เกิดการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และจุลภาค เช่น การสร้างชุมชนให้เข็มแข็งเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในชุมชน เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือจึงเป็นทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมเพื่อช่วยในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้แก่ การใช้ในการบริหารสำนักงาน ใช้ในการติด่อสื่อสาร ใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสู่ลูกค้า ใช้ในการจำหน่ายสินค้าและบริการ เป็นต้น

 

นิยาม “ตลาด” ทางการท่องเที่ยว (Defining markets)



โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงคำว่า “ตลาด” จะเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็นระบบการจัดการที่ให้ผู้ซื้อ (buyer) และผู้ผลิต (producer) ได้มาทำธุรกรรมระหว่างกัน แต่ในเทอมของการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ททท. ได้นิยามคำว่าขณะที่กลุ่มผู้ขายหรือผู้ผลิต (Supply side) จะหมายถึงตัวอุตสาหกรรม (Industry)

การกำหนดขอบเขตของคำว่า “ตลาด” ที่ชัดเจนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อการกำหนดหรือพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดและเป็นกรอบในการวัดผลสำเร็จด้านการแข่งขันกับคู่แข่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน รวมไปถึงความง่ายต่อการวิเคราะห์หาโอกาสหรือข้อจำกัดในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด ซึ่งการท่องเที่ยว ฯ ได้นิยามคำว่าตลาดตามการแบ่งกลุ่มตลาด ออกเป็น 3 ลักษณะหลัก คือ

แบ่งตามพื้นที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค (Segmentation based on Geographic)

แบ่งตามคุณลักษณะของผู้บริโภค (Segmentation based on Demographic)

แบ่งตามพฤติกรรมผู้บริโภค (Segmentation based on buyer behavior)

 

กลุ่มตลาดตามพื้นที่อยู่อาศัย

การแบ่งกลุ่มตลาดในลักษณะนี้จะตอบคำถามว่า “ผู้บริโภคอยู่ที่ไหน” ซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า กลุ่มตลาดซึ่งมาจากที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน หรือมีเงื่อนไขในการเดินทางที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งหารแบ่งกลุ่มตลาดในลักษณะนี้ ยังเป็นการง่ายต่อการวัดผลทางการตลาด และง่ายตอการกำหนดแผนปฏิบัติงานในการขยายพื้นที่ตลาด เช่น การแบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มยุโรป กลุ่มเอเชีย หรือ ตลาดญี่ปุ่น ตลาดฝรั่งเศส เป็นต้น

 

กลุ่มตลาดตามคุณลักษณะ

กลุ่มตลาดที่กล่าวถึงจะตอบคำถามว่า “ใครเป็นผู้ซื้อ” เพื่อง่ายต่อการรู้จักลูกค้าของตน การแบ่งกลุ่มลูกค้าในลักษณะนี้จะดูคุณสมบัติของลูกค้าเป็นหลักตามสมมุติฐานว่า กลุ่มลูกค้าที่มีคุณสมบัติเหมือนกันจะมี life style ที่คล่ายคลึงกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น

-  ตามอายุ เช่น วัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้สูงอายุ เป็นต้น

-  ตามเพศ คือ หญิง ชาย

-  ตามอาชีพ เช่น กลุ่ม Professional กลุ่ม administrative & Managerial กลุ่ม commercial personal เป็นต้น

-  ตามวงจรชีวิตครอบครัว (Family life cycle) เช่น กลุ่มหนุ่มสาวโสด กลุ่มคู่แต่งงานใหม่ กลุ่มครอบครัวที่มีบุตร กลุ่มเกษียณอายุ

 

กลุ่มตลาดตามพฤติกรรมผู้บริโภค

ในสองกลุ่มตลาดข้างต้นจะพิจารณาคุณสมบัติ (Characteristic) ของผู้บิโภคเป็นหลัก แต่การแบ่งกลุ่มตลาดตามพฤติกรรมการบริโภค จะพิจารณาจากทัศนคติ การตอบสนองต่อสินค้า หรือประเภทของสินค้าที่บริโภค เช่น แบ่งเป็นกลุ่มตลาดเพื่อพักผ่อนทั่วไป (leisure) กลุ่มฮันนีมูน การดำน้ำ กลุ่ม MICE กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

การแบ่งกลุ่มตลาดวิธีนี้จะช่วยให้ธุรกิจหรืออุตสาหกรรม สามารถวิเคราะห์ จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตนต่อความพร้อมในการรองรับกลุ่มตลาดซึ่งมีความชัดเจนในความต้องการของผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านการตลาดในลักษณะ Target marketing ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดและระบบการตลาด

จากแนวความคิดทางการตลาดและหน้าที่ทางการตลาดที่ทำให้ความสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าไปพร้อม ๆ กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจซึ่งกิจการต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบใช้กลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการประสมทางการตลาด ได้แก่ผลิตภัณฑ์ราคาช่องทางการจัดจำหน่ายการ ส่งเสริมทางการตลาดให้เกิดความเหมาะสม กับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในขณะนั้นสภาพแวดล้อมภายนอกสภาพแวดล้อมภายในด้วยกระบวนการบริหารทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

 

ความหมายของสภาพแวดล้อมทางการตลาด

สภาพแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายในที่มีผลต่อโปรแกรมทางการตลาดของบริษัท ซึ่งสิ่งแวดล้อมภายนอกธุรกิจเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีธุรกิจควบคุมไม่ได้แต่สิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจเป็นสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจควบคุมได้

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง ปัจจัยทุกชนิดที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านการตลาดและด้านอื่นๆของธุรกิจปัจจัยที่ส่งผลกระทบมีได้หลายปัจจัยและปัจจัยจะส่งผลในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากันก็ได้ทำให้มีการพิจารณาในลักษณะของผลรวม

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง ขายนอกต่างๆที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมได้หรืออาจควบคุมได้เพียงบางส่วนอีกครั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือปัจจัยการต่างเหล่านั้นสามารถสร้างโอกาส หรือก่อให้เกิดอุปสรรคทางการตลาดให้มีการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้จึงมีความสำคัญต่อการตัดสินใจทางการตลาดอย่างมาก

สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง ปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลหรือมีผลกระทบต่อการดำรงการทางการตลาดโดยเฉพาะในด้านการวางแผนการตลาดการสร้างโอกาสทางการตลาดการจำกัดขอบเขตการตลาด และการตัดสินใจทางการตลาดในด้านต่างๆ

 

ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางการตลาด

การดำเนินการตลาดให้ประสบความสำเร็จนั้น นักการตลาดต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการนำข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอก และทำการวิเคราะห์และบริหารจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางตลาดภายในให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาดภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของการตลาดได้อย่างเหมาะสมกับโอกาสและจังหวะเวลา สามารถตอบสนองความต้องการทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่กิจการกำหนดไว้ซึ่งพอสรุปความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางการตลาดได้ดังนี้

1. สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงโอกาส อุปสรรค เพื่อศึกษาและพยากรณ์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเพื่อหาแนวทางในการสร้างความสำเร็จหรือป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกิจการได้

2. สามารถนำข้อมูลมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดแผนการทางการตลาดให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้นๆได้

3. สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของสถานการณ์ในด้านต่างๆได้ทันเวลา ทำให้มีข้อมูลทั้งสมัยในการนำมาบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

4. สามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายใน ดูสภาพพยากรณ์ทั้งหมดที่กิจการหรือธุรกิจมีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

5. สามารถค้นพบตลาดใหม่ๆ ทำให้สามารถขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่องตัวอย่างเช่นช่วงเวลาวันที่ 26 กันยายนถึง 5 ตุลาคม 2556 เป็นเทศกาลของคนใจบุญประเพณีการกินเจ (เป็นสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอกเรียกว่าปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม)  ปีนี้คึกคัก  นักการตลาดสามารถนำมาใช้เป็นโอกาสในการกำหนดแนวทางการทำการตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ (เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์) เพื่อใช้ในการวางแผนตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มที่นิยมกินเจและบำเพ็ญบุญในช่วงเวลาดังกล่าว

 

องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการตลาด

สภาพแวดล้อมทางการตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอก  ประกอบด้วย ปัจจัยต่างๆ ที่กิจการหรือธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ หรืออาจเรียกว่าปัจจัยนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ Uncontrollable or Internal Factors สภาพแวดล้อมทางการตลาดภายในประกอบด้วยปัจจัยในองค์การที่สามารถปรับเปลี่ยนได้หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าปัจจัยภายในหรือปัจจัยที่ควบคุมได้ controllable or Internal Factors

 

ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้  External or Uncontrollable Factors

ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หมายถึง ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการตลาดในด้านต่าง ๆ เป็นปัจจัยซึ่งกิจการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่กิจการต้องการได้กิจการจำเป็นต้องมีการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการการตัดสินใจในการวางแผน หรือดำเนินงานทางการตลาดให้เกิดความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเหล่านี้ซึ่งปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญสรุปได้ 8 ประการดังนี้

1. ตัวแปรเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม Cultural and Social Variables เป็นปัจจัยที่มีอยู่ นอกเหนืออำนาจที่นักการตลาดจะควบคุมได้ เป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกันกับคนในสังคมที่เป็นกลุ่มตลาดเป้าหมาย กิจการจำเป็นต้องมีการศึกษาปัจจัยต่างๆเหล่านี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการกลับทางการตัดสินใจ ในการวางแผนการดำเนินงานทางการตลาดให้เกิดความสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเหล่านี้ซึ่งปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ประกอบตัวแปรที่สำคัญสรุปได้ 8 ประการดังนี้

1.1 วัฒนธรรมคือ ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน แนวความคิด แนะแนวการปฏิบัติของกลุ่มคนในสังคมทั้งนี้เนื่องจากสังคมขนาดใหญ่ประกอบด้วยสังคมขนาดเล็กมากมายหลากหลายอาชีพ ศาสนาหลายเชื้อชาติและในทางสังคมเยอะๆจะมีการสืบทอดวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีความเชื่อ หรือค่านิยมที่แตกต่างกันทำให้เกิดรูปแบบของวัฒนธรรมที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป กลุ่มคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันมีรูปแบบวัฒนธรรมเดียวกันจะมีพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน

1.2 สังคม องค์ประกอบของสังคมที่สำคัญที่สุดได้แก่คนและสังคมที่เล็กที่สุดคือสังคมครอบครัว ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดค่านิยม ทัศนคติ ความคิดเห็นต่าง แนวทางปฏิบัติในสังคมนั้นการศึกษาสภาพแวดล้อมทางสังคมจะทำให้เกิดความ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติของคนในสังคมแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากครอบครัวหรือกลุ่มอ้างอิงและหนทางสังคมและนำข้อมูล เกี่ยวกับการปฏิบัติมากำหนดแนวการดำเนินงานทางการตลาดให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมนั้น ๆ ต่อไป

1.3 ประชากร หมายถึง อัตราการเกิดและการอพยพของคนในสังคมต่างๆและคนคือปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดสินค้าและบริการต่างๆ คนเสื้อดำมาตอบสนองความต้องการ และจะนำมาปริมาณมากหรือปริมาณน้อยเพียงใดนั้น สามารถพิจารณาได้จากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรในสังคมถ้าหากประชาการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เพิ่มขึ้นอัตราการเจริญเติบโตหรือการขยายตัวของตลาดจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ในทางตรงข้าม หากว่าถ้าการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ลดลงอัตราการขยายตัวทางการตลาดก็จะลดลงด้วยเช่นกัน

2. ตัวแปรที่เกี่ยวกับการเมืองและกฏหมาย Political and legal Variables ตัวแปรทางการเมืองกฏหมายและข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินกิจการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจ และทางด้านการตลาด เพราะธุรกิจทุกชนิด ทุกประเภททุขนาดต้องดำเนินงานภายใต้กฏหมาย ระเบียบ และข้อปฏิบัติที่กำหนด ปรับตัวไปตามสภาพการเมืองของแต่ละประเทศ เป็นความจริงที่ว่าในการดำเนินธุรกิจมีจุดมุ่งหมายหลักที่สำคัญคือผลกำไร แต่การแสวงหาผลกำไรที่ได้จะต้องดำเนินงานอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฏหมายกำหนดด้วย มิใช่คำนึงแต่กำไรสูงสุดตามที่กิจการต้องการ แต่ถ้าการดำเนินงานผิดกฏหมาย ขัดต่อระเบียบข้อบังคับก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีน่าที่เข้ามากำกับควบคุมดูแลสนับสนุนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้การดำเนินกิจการธุรกิจกับผู้บริโภคหรือระหว่างผู้ประกอบธุรกิจหรือธุรกิจหรือระหว่างธุรกิจกับสังคมเช่นการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมผู้บริโภค กฎหมายควบคุมทางการค้าในลักษณะต่างๆกฎหมายที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพของสังคม กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเป็นต้น ฉะนั้นนักการตลาดต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายเข้าถึงสภาพการเมืองและประเทศที่การดำเนินทางการตลาดเข้าไปเกี่ยวข้องว่ามีลักษณะเป็นอย่างไ รเป็นการเปิดโอกาสหรือเป็นการสร้างปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินงานก่อนที่จะตัดสินใจการกำหนดแผนงานทางการตลาดที่จะปฏิบัติเพื่อให้กิจกรรมต่างๆทางการตลาดเกิดความสอดคล้องสภาพการเมืองการปกครองและสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

3. ตัวแปรเกี่ยวกับธุรกิจ Economic Variables การเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการตัดสินใจทางการตลาดและสภาพทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบโดยตรงแต่อำนาจซื้อขายของผู้บริโภคกล่าวคือ ถ้าหากภาวะเศรษฐกิจเติบโตประชาการจะมีอำนาจซื้อสูง การตลาดจะเกิดการขยายตัวในทางตรงกันข้ามเมื่อหาและเศรษฐกิจตกต่ำอำนาจซื้อของคนจะลดลงการตลาดซบเซาตามไปด้วย ฉนั้นนักการตลาดจึงควรติดตามความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนั้น

4. ตัวแปรเกี่ยวกับการแข่งขัน Competition Variables ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นักธุรกิจรู้ดีว่าสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการดำเนินงาน คือ การแข่งขัน เพราะในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจต่าง ๆ เข้ามาดำเนินการได้อย่างกว้างขวาง หากมีความสมารถและศักยภาพในการดำเนินงานเพียงพอ ทำให้ธุรกิจแต่ละประเภทมีผู้เช้ามาดำเนินการมากมาย แต่ละธุรกิจจะพยายามพัฒนากลยุทธ์การตลาดในต้านต่าง ๆ ให้เท่าเหนือกว่าคู่แข่งขันในทุก ๆ ด้าน เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเป็นที่ต้องการของตลาดให้มากที่สุด ธุรกิจจึงสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโอต่อไปได้ คู่แข่งขันในทางการตลาดมี 3 ลักษณะ คือ คู่แข่งขันทางตรง ได้แก่ กิจการที่นำเสนอสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันส่่วนคู่แข่งขันทางอ้อม ได้แก่ กิจการที่นำเสนอสินค้าหรือบริการที่สามารถใช้ทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ และคู่แข่งขันลักษณะสุดท้าย คือ คู่แข่งที่มีโอกาสเข้ามาในอุตสาหกรรม การศึกษาเกี่ยวกับคู่แข่งขัน นักการตลาดหรือผู้ประกอบการควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงของสถานการณ์การแข่งขัน จำนวนคู่ แข่งขันและขนาดของคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถประเมินได้จากขนาดการลงทุน ยอดขาย หรือส่วนแบ่งตลาดจำนวนพนักงาน และสัดส่วนกำลังการผลิตหรือกำลังในการให้บริการ รวมทั้งประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับจำนวนและจุดยืนของคู่แข่งขัน รวมถึงจุดแข็งของคู่แข่งขันเพื่อนำมาใช้ในการกำหนดแนวทางในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และสามรถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

อย่างไรก็ดีการศึกษาเกี่ยวกับคู่าแข่งขันให้เกิดประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการควรกำหนดวีธีการในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่นไหวของคู่แข่งขันอยู่ตลอดเวลาทั้งใน ด้านคุณภาพของสินค้าหรือบริการ การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระดับ ราคา รูปแบบของการส่งเสริมการตลาดที่นำมาใช้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดกิจกรรมทางการตลาดของกิจการ

5. ตัวแปรเกี่ยวความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี Technology Variables ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการผลิต การดำเนินงานทางการตลาด หรือการดำเนินธุรกิจทุกประเภท เพราะความก้าวหน้าทางเทึโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน เช่น ธุรกิจการผลิตนำมาใช้ในการผลิต ทำให้ได้ประมาณสินค้า หรือบริการที่เพียงพอต่อความต้องการ การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ธุรกิจการตลาดนำมาใช้ในการจัดจำหน่ายและให้บริการแก่ผู้บริโภคได้รวดเร็ว ถุกต้องแม่นยำมากขึ้น ส่วนผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของประชากรในสังคมดีขึ้น เช่น ธุรกิจการผลิตนำเครื่องจักรที่ทันสมัย มีกำลังการผลิตสูงมาใช้ ทำให้ได้สินค้าในปริมาณมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ทำให้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ในด้านการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลข่างสารต่าง ๆ มีความถูกต้องเป็นระบบมากขึ้น เช่น การนำเครื่องบันทึกเงินสดมาใช้ควบคู่กับเครื่องอ่านแถบรหัสสินค้า Bar Code เพื่อคิดราคาสินค้าในธุรกิจการค้าปลีก ทำให้การบริการรวดเร็วสามารถจัดทำบัญชีและควบคุมสินค้าคงกลังไปพร้อม ๆ กัน การดำเนินงานเกิดความถูกต้องและให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทำให้การดำเนินงานมีความถูกต้องและรวดเร็ว การวางแผนทางการตลาด และการดำเนินกิจการทางการตลาดสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดแนวโน้มทางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่าง ๆ มีอิทธิพลหรือมีบทบาท โดยตรงต่อรูปแบบการผลิตการจัดจำหน่ายและการนำเสนอสินค้าหรือบริการของกิจการโดยทั่วไป แล้วการนำ เทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานระยะเวลา และข้อผิดพลาดทางการดำเนินงานทำให้กิจการสามารถผลิตจัดจำหน่าย หรือบริการแก่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและสร้างความพึงพอใจได้มากขึ้นจากนี้ยังมีการลดต้นทุนและข้อผิดพลาดในการดำเนินงานอีกด้วย

6. ตัวแปรที่เกี่ยวกับคนกลางทางการตลาด Middlemen Variables คนกลางที่มีอยู่ในตลาดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดเป้าหมายคนกลางทางการตลาดมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะทำงานเป็นอิสระมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินงานขนาดของการประกอบการ การดำเนินงานทางการตลาดผู้ประกอบการจำเป็นต้องอาศัยคนกลางประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเสนอผลตอบแทนและเงื่อนไขที่คนกลางพอใจ คนกลางจึงจัดเต็มใจในการจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการให้แต่การที่ผู้ประกอบการเลือกใช้คนกลางประเภทใดจำนวนใดมากเพียงใดนั้น สามารถพิจารณาได้จากลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่กิจการจะจัดจำหน่ายช่องทางการจัดจำหน่าย คู่แข่งในตลาดผู้บริโภคหรือตลาดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและผลตอบแทนที่จะได้รับเป็นต้น

7. ตัวแปรที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบและเครือข่ายกิจการ Suppliers Network Variables ผู้ประกอบการต้องรู้จักองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชนสามารถให้การสนับสนุนและช่วยส่งเสริมสนับสนุนและความสามารถในการดำเนินธุรกิจของกิจการใน 4 ด้านดังนี้

1. ด้านวัตถุดิบตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิตหรือการจัดให้บริการฮาร์ดแวร์ได้แก่บริษัทที่ผลิตจำหน่ายหรือนำเข้าวัตถุดิบเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้กระบวนการการผลิตหรือการให้บริการมีต้นทุนที่ต่ำลงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มากขึ้นเช่นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรและสินค้าการเกษตรแปรรูปกระดาษเหล็กและอลูมิเนียมตลอดจนเครื่องจักรเครื่องมือ เช่น เครื่องพิมพ์ ครื่องผลิตน้ำเต้าหู้ เครื่องผสมอาหาร อุปกรณ์ถ่าย ภาพอุปกรณ์บันทึกเสียง เครื่องมือผ่าตัดเป็นต้นการรู้จักและสร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเหล่านี้เป็นแหล่งที่มาของการลดต้นทุนและการสร้างสนุก ๆ ใหม่ ๆ ทางธุรกิจ

2. การวิธีการหรือโปรแกรมที่ช่วยด้านการจัดการหรือการให้บริการซอฟต์แวร์ได้แก่บริษัทหรือหน่วยงานของรัฐที่บริการ หรือความช่วยเหลือในการออกแบบการคิดค้นวิธีการผลิตใหม่ๆการเพิ่มผลผลิตการตรวจสอบคุณภาพการปรับปรุงมาตรฐานในการทำงานตลอดจนผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการผลิตการจัดการให้บริการและการตัดสินจะตัดสินใจ เช่น การที่กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ได้ให้บริการแก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าปลีกในปัจจุบัน ที่ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากร้านค้า  Modem Trade จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและการจัดการเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และช่วยเหลือในภาคปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลอย่างชัดเจนเป็นรูปประธรรม

3. ด้านบุคลากรที่มีความสามารถในการผลิต การจัด การบริการ People where ซึ่งหมายถึง สถาบันการศึกษาและหน่วยงานด้านการฝึกอบรมต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่ในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆได้แก่ สถาบันการศึกษาในด้านอาชีพต่าง ๆ สถาบันการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันฝึกอบรมบุคลากรทางด้านเทคนิคการผลิตหรือด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวเป็นต้น ตลอดจนการร่วมมือในการจัดการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ตามสาขาอาชีพที่ธุรกิจต่างๆต้องการ เช่น การจัดตั้งบริษัทร่วมค้าปลีกเข้มแข็งทางกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจัดซื้อสินค้าให้แก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็กเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองในเรื่องราคากับผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย เช่น โครงการรักษาบ้านเกิดเป็นต้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการกิจการจำเป็นต้องรู้จักองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวข้างต้นและวิเคราะห์แนวทางการดำเนินธุรกิจที่สามารถได้รับประโยชน์หรือความร่วมมือจากกลุ่มผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบและเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้จำหน่ายวัตถุดิบหรือเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้จึงสามารถทำให้กิจการสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

8. ตัวแปรเกี่ยวกับการตลาดหรือผู้บริโภค Market or customer Variables เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานทางการตลาด เพราะตัวแปรด้านการตลาดหรือผู้บริโภคเป็นตัวแปรที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมความต้องการได้ แต่เป็นตัวแปรที่การตลาดต้องตอบสนองความต้องการ ฉะนั้นนักการตลาดจำเป็นต้องศึกษาการตลาดหรือผู้บริโภคให้มากที่สุด ทางการตลาด เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคหรือตลาดเกิดความสนใจใน ผลิตภัณฑ์ หรือ นำมาประกอบในการหาแนวทางกลยุทธ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดให้เกิดประสิทธิภาพ อันนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคหรือตลาดในที่สุด การศึกษาเกี่ยวกับตลาดหรือผู้บริโภคจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ ตลาดผู้บริโภคตลาดธุรกิจ การศึกษาตลาดหรือผู้บริโภคทั้ง 2 ประเภทจะต้องศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไป เช่น ตลาดผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้บริโภคเองเป็นการส่วนตัวหรือใช้ในครอบครัวจะศึกษาเกี่ยวกับ

1. เพศ เพื่อศึกษาความสนใจสำหรับบางประเภทที่เพศเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ผ้าอนามัย เสื้อสำเร็จรูป เป็นต้น

2. ระดับการศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกซื้อและข้อความที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

3. ทำเลที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเลือกทำเลที่ตั้งของร้านค้าหรือกิจการ คลังเก็บสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น

4. รูปแบบการดำเนินชีวิต เพื่อเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสนใจและรูปแบบการใช้เวลาของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมาย

5. พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อศึกษาความถี่และปริมาณการซื้อแต่ละครั้ง สถานที่ซื้อ จุดมุ่งหมายในการซื้อว่าซื้อเพื่อใช้เองหรือซื้อเพื่อคนอื่น

6. พฤติกรรมการใช้เพื่อศึกษาความถี่และปริมาณการใช้โอกาสในการใช้  ถ้าเป็นตลาดธุรกิจที่ผู้ซื้อเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีลักษณะการดำเนินงานในรูปแบบห้างหุ้นส่วนสมาคมและหน่วยงานราชการที่มีวัตถุประสงค์ในการซื้ออย่างใดอย่างหนึ่งในสหรัฐเสนอดังนี้คือนำไปใช้ในการผลิตการจัดจำหน่ายการบริการหรือการประกอบการของบุคลากรควรทำการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับจำนวนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสามารถคาดคะเนถึงขนาดของตลาดขนาดของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เครือข่ายคะเนเกี่ยวกับปริมาณการซื้อและอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อประเภทของอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวลักษณะของความต้องการที่แตกต่างกัน ทำเลที่ตั้งที่ทำการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าถึงและการจัดส่งสินค้า ผู้ประกอบการธุรกิจต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อนว่าลูกค้าเป้าหมายของกิจการเป็นบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคลหรือทั้ง 2 ประเภทในสัดส่วนเท่าไหร่เพื่อประโยชน์ในการทำกลยุทธ์ทางการตลาดให้เกิดความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันและพัฒนาอำนาจการซื้ออำนาจการต่อรอง  ประเภทมีความแตกต่างกันและพัฒนาอำนาจการซื้ออำนาจการต่อรองกับการตัดสินใจซื้อ พฤติกรรมการซื้อ เงื่อนไขการชำระเงินและวัตถุประสงค์ในการซื้อ แหล่งข้อมูลที่ผู้ประกอบการสามารถศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำมาประเมินศักยภาพของตลาดทั้งสองลักษณะ ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศได้แก่ เอกสารเผยเผยแพร่เขาหาราชการ รายงานของสำนักงานสถิติแห่งประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

 

ปัจจัยภายในหรือปัจจัยที่ควบคุมได้ Internal or Controllable Factors

ปัจจัยภายในหรือภาษาที่สามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยการตลาดที่ผู้ประกอบการสามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจหรือธุรการได้ เพราะเป็นปัจจัยที่กิจการหรือธุรกิจจัดสรรมาใช้ในการดำเนินกิจการด้านต่าง ๆ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญคือ

1. ส่วนประสมทางการตลาด  marketing mix  คือ องค์ประกอบที่นำมาใช้ในการดำเนินงานทางการตลาดเรียกว่า 4’ps ประกอบด้วย

1.1 ผลิตภัณฑ์ product หมายถึง ตัวสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจและผลิตขึ้นหรือจัดหามาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเป้าหมาย เป็นปัจจัยแรกที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานทางการตลาด เพราะการผลิตหรือการจัดหาผลิตภัณฑ์ได้ตรงความต้องการของเป้าหมาย จะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับแก่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้และตลาดเป้าหมาย ฉะนั้นและการตลาดต้องใช้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อผลิตในด้านการพัฒนา การจัดมาตรฐาน การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์และการเพิ่มลดสายผลิตให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย

1.2 ราคา Price หมายถึง ข้อมูลของสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจผลิตหรือจัดมาเพื่อตอบสนองความต้องการ มูลค่าของสินค้าหรือบริการจะต้องมีความสอดคล้องกับอรรถประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเป็นสำคัญ การที่ธุรกิจจะกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะของตลาดเป้าหมายโดยพิจารณาจากอำนาจซื้อ พฤติกรรมรวมถึงกิจกรรมทางการตลาดที่ต้องดำเนินการ เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย ตลอดทางเป้าหมายในการดำเนินงานที่ ธุรกิจกำหนดไว้ เช่น ผลตอบแทนหรือกำไร การขยายตัวการครองส่วนตลาดหรือเป้าหมายอื่น ๆ

1.3 การกำหนดช่องทางการจัดจำหน่าย Place หมายถึงกิจกรรมในการทำให้สินค้าหรือบริการเกิดการเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ต้องถูกต้องและเหมาะสม ดังกล่าว รายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้องกระทำอย่างรวดเร็ว ทันเวลาที่ผู้บริโภคต้องการในสถานที่ที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นหมดคุณค่าไปได้

ก. พ่อค้าคนกลาง Middlemen บุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำสินค้าหรือบริการจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ในระดับต่าง ๆ ได้แก่ พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก นายหน้า ตัวแทน เป็นต้น

ข. เครื่องมือในการกระจายสินค้า Physical Distribution หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดที่นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ หรือบริการที่กิจการเสนอแก่ตลาดเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคหรือผู้ใช้มีความรู้พอเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่กิจการเสนอในประเภทของสินค้าบริการว่ามีอะไรบ้างมีประโยชน์อย่างไร จำหน่ายที่ไหน ราคาเท่าไหร่

ค. การส่งเสริมการขายในรูปแบบอื่น ๆ Sales Promotion แปลงกิจกรรมทางการตลาดที่นำสิ่งจูงใจต่างๆมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการอย่างรวดเร็วขึ้น

ง. การประชาสัมพันธ์ Public Relation หมายถึง การดำเนินงานกิจการทางการตลาดในรูปแบบใดใด ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างธุรกิจหรือองค์การกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นผู้บริโภคและผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้บริโภค

จ. การตลาดทางตรง Direct marketing หมายถึง ระบบตัวต่อทางการตลาดที่ใช้สื่อโฆษณาหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งสือ เพื่อให้เกิดผลที่วัดได้หรือเกิดการแลกเปลี่ยน และสถานที่ที่หนึ่ง กิจกรรมเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้เป็นฐานข้อมูล

ส่วนประสมทางการตลาดหรือ 4’PS จัดเป็นปัจจัยภายนอกที่สามารถควบคุมได้เพราะเป็นกิจการสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไปตามความเหมาะสม แต่การจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางใดต้องให้สอดคล้องกับปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นหลักสำคัญ เช่น กิจการต้องผลิตหรือจัดหาสินค้าที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและกำหนดระดับราคาที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้เพื่อผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อได้อย่างเหมาะสมและที่สำคัญการดำเนินการ เกี่ยวกับปัจจัยทั้ง 4 ประการดังนี้ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามต่อของสังคมการดำเนินงานธุรกิจถึงประสบผลสำเร็จและสามารถอยู่ในตลาดได้ตลอดไป

2. นโยบายของกิจการ policy เป็นตัวแปรที่กิจการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์เช่นนโยบายการแข่งขัน นโยบายการส่งเสริมการตลาด เป็นต้น

3. ฐานะทางการเงิน Financial การวางแผนทางการเงินเป็นปัจจัยภายในที่สำคุญอีกประการหนึ่งที่กิจการสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับปัจจัยภายนอก ทั้งในด้านการลงทุนและด้านการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถดำเนิงานภายใต้

4. การบริหารจัดการ Management เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรที่กิจการองค์การมีอยู่อยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ หรือ กระบวนการในการดำเนินงาน

 

การวิเคราะห์สภาพแลดล้อมทางการตลาด Marketing Environment Analysis

การวิเคราะห์ตลาด Marketing Analysis หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มี อิทธิพล ต่อการดำเนินงานทางการตลาด และองค์ประกอบการตลาดในด้านต่าง ๆ เพื่อค้นหาโอกาสทางการตลาดที่องค์การสามารถในการเช้าไปดำเนินการได้ แล้วนำมากำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานทางการตลาดให้เหมาะสม สอดคล้้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ธุรกิจได้กำหนดไว้ ซึ่งวิธีการที่นักการตลาดนำมาใช้ในการรวบบรวมหรือวิเคราะห์ช้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาด

1. การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดตามหลักการ SWOT Analysis ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารงานการตลาด เพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางการตลาดในด้านต่างๆ ที่เปิดโอกาสหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของกิจการ และบริหารจัดการกับปัจจัยต่าง ๆ ที่องค์การมีอยู่ให้สามาถดำเนินการต่อไปได้ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตสามารถแข่งขันได้ กิจการสามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์นั้น ๆ

1. S มาจากคำว่า Strength เป็นการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบหรือข้อดีเด่น หรือจุดแข็งของกิจการภายใต้สภาพแวดล้อมทางการตลาดหรือสถานการณ์การตลาดในขณะนั้น ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จากส่วนประสมทางการตลาด Marketing mix และสภาพแวดล้อมภายในอื่น ๆ ของกิจการ

2. W มาจากคำว่า Weaknesses เป็นการวิเคราะห์ข้อเสียเปรียบ หรือจุดอ่อนของกิจการซึ่งมักจะเกิดจากส่วนประสมทางการตลาดและสิ่งแวดล้อมภายใน การทราบถึงจุดอ่อน หรือ ข้อเสียเปรียบของกิจการ จะเป็นเครื่องมือช่วยให้กิจการสามารถค้นหาวิธีการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้อย่าถูกต้อง

3. O มาจากคำว่า Opportunities เป็นการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบหรือปัจจัยเอื้ออำนวยประโยชน์ไห้กับกิจการในแต่ละสถานการณ์ โดยการวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะช่วยกิจการสามารถนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับโอกาสนั้น ๆ

4. T มาจากคำว่า Threats เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกในแต่ละช่วงเวลาและส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจกิจการในด้านลบ กิจกรรมต้องนำข้อมูลต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการทำงานหรือปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดให้ประสบความเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นประโยชน์ตามที่กิจการกำหนด ภายใต้สถานการณ์ในขณะนั้น

จากองค์ประกอบของวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT Analysis ทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปเป็นหลักการวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ทางตลาดได้ 2 ลักษณะที่สำคัญลักณณะแรกเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่ผู้ประกิบการไม่สามารถควบคุมหรือปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ เพราะเป็นปัจจัยที่เกิดจาสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอก เรียกว่า การวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ภายนอก หมายถึง การประเมินสภาพแวดล้อมทางการตลาดเกี่ยวกับปัจจัยต่างกิจการไม่สามารถควบคุมมหรือไม่สมารถเปลี่ยแปลงได้ รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนักการตลาดจะได้นำมาใช้พิจารณาถึงโอกาส Opportunities และอุปสรรค Threats ในการดำเนินงานทางตลาดในอนาคต ส่วนในลักษณะที่สองเป็นวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่กิจการตรวจสอบควบคุมหรือสามารถและความพร้อมของกิจการเกี่ยวกับทรัพยากรในด้านต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายของกิจการ และที่สำคัญที่สุดคือส่วนประสมทางการตลาด

2. การวิเคราะห์โดยใช้หลัก STP Step หลังจากกิจการได้วิเคราะห์สถานการณ์การตลาด โดยนำหลังการวิเคราะห์ระบบวิเคราะห์แบบ SWOT Analysis มาใช้เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของกิจการแล้ว ก่อนที่นำไปสู่ขั้นตอนการวางแผนทางการตลาดโดยการใช้หลักการ STP step ซึ่งประกอบด้วย

1. S คือ Segmentation หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดคือ การกำหนดตลาดจากส่วนแบ่งตลาดที่กิจการให้ความสนใจในการเข้าไปตอบสนองความต้องการ การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดเพื่อนำมาบริหารจัดการเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดให้มีความสอดคล้องมีลักษณะความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของกิจการกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งในสายตาผู้บริโภค

2. T คือ targeting หมายถึง การกำหนดเป้าหมายตลาดเมื่อกิจการดำเนินการแบ่งส่วนตลาดเพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเพื่อกำหนลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จะนำเสนอให้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดแล้วขั้นต่อมาคือการกำหนดเป้าหมายที่กิจการจะเข้ามาดำเนินการตอบสนองความต้องการเพื่อ ดำเนินทางการตลาดเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดให้เกิดความเหมาะสม

3. P คือ Product Positioning หมายถึง การกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่กิจการนำเสนอต่อตลาดเป้าหมายเป็น กิจกรรมการตลาดที่เกี่ยวกับการกำหนดลักษณะเด่นของคุณค่าของสินค้าและบริการให้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันของคู่แข่งที่สำคัญลักษณะเด่นหรือคุณค่าของสินค้าหรือบริการต้องมีความสอดคล้องกับความ ต้องการของผู้บริโภคและผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ถึงความแตกต่าง

ในการปฏิติเกี่ยวกับการวิเคราะห์โอกาส หรือการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในด้านต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น นักการตลาดจะเริ่มจากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอกก่อน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมหรือปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ แต่เป็นปัจจัยที่สำคัญนักการตลาดต้องทำความเข้าใจและติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มทางการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในอนาคตของสภาพแวดล้อมทางด้านการตลาดโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อนำข้อมูลและความเข้าใจในสถานการณ์ภายนอกมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ภายใน หรือสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายในเพื่อพิจารณา ตรวจสอบศักยภาพ ความสามารถ และเตรียมความพร้อมของกิจการในด้านต่าง ๆ และเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงจุดอ่อน สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกตลอดเวลา

การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมที่ไร้พรมแดน คู่แข่งขันที่มีจำนวนมากมีศักยภาพสูงขึ้นตลอดเวลา ธุรกิจจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อนำมาวิเคราะห์หาโอกาสทางตลาดที่เหมาะสม และเลือกประเภทธุรกิจที่เป็นที่ต้องการของตลาด ศึกษาพฤติกรรมของตลาดในปัจจุบันและอนาคต เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการตลาดให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับความสามารถของธุรกิจ

การวางแผนทางการตลาด marketing planning หมายถึง การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด หรือ 4 ‘ps กิจการเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมายจนเกิดความพึงพอใจ และกิจการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปฏิบัติการทางการตลาด implementation เป็นขั้นตอนการดำเนินงานทางการตลาดตามแผนการตลาดที่กำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด รวมทั้งการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในแก่บุคคลต่าง ๆ ในแต่ละระดับให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อให้การปฏิบัติงานทางการตลาดเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดซึ่งเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. กลยุทธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Product Strategies เป็นการปฏิบัติทางการตลาดที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับเป้าหมาย โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง ทั้งในด้านรูปแบบ คุณภาพที่เหนือกว่า มีความโดดเด่น ความคงทน และความน่าสนใจ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผลิตภัณฑ์

 

2. กลยุทธ์เกี่ยวกับราคา Price Strategies เป็นการปฏิบัติทางการตลาดที่เกี่ยวกับการกำหนดข้อมูลให้กับผลิตภัณฑ์ให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถในการซื้อสินค้าหรือบริการทางตลาดเป้าหมาย กิจการเกิดกำไร สามารถแข่งขันได้

3. กลยุทธ์เกี่ยวกับการจัดจำหน่าย Distribution Strategies การปฏิบัติการทางการตลาดในด้านนี้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการกำหนดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ การขนส่ง การเก็บรักษาการกำหนดลักษณะคนกลางที่ต้องการ เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถกระจายในตลาดต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเกิดประสิทธิภาพ

4. กลยุทธ์เกี่ยวกับการส่งเสริมทางการตลาด Promotion Strategies เป็นการปฏิบัติงานด้านการตลาดเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของตลาดผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย คู่แข่ง เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สามารถกระจายสู่ตลาดเป้าหมายอย่างเหมาะสม สามารถกระตุ้น แนวโน้ม ชักจูง หรือผู้ใช้เกิดพฤติกรรมการตอบสนองเป็นไปตามเป้าหมายของธุรกิจ

การควบคุมทางการตลาด Marketing Control เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของกระบวนการในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบ  และปฏิบัติงานทางด้านการตลาดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนงานทางการตลาดที่กำหนดไว้ บรรลุเป้าหมายทางการตลาดตามที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมทางการตลาดเป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง การควบคุมการตลาดสามารถดำเนินงานเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้

1. การกำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายของการปฏิบัติงาน เป็นการกำหนดเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดผลการปฏิบัติงานทางการตลาดว่าสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพียงใด หลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถกำหนดออกมาในลักษณะต่าง ๆ กันออกไปตามความสามารถของลักษณะงาน 

2. การวัดผลการปฏิบัติงาน เมื่อปฏิบัติงานตามการปฏิบัติงานต่าง ๆ ดำเนินไปได้ระยะหนึ่งแล้ว หรือเมื่อการปฏิบัติงานด้านการตลาดในแต่ละด้านเสร็จสิ้นลง ธุรกิจต้องดำเนินการวัดผลของการปฏิบัติงานด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามมาตรฐานหรือว่าวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยวิธีการสังเกตด้วยปากเปล่า หรือการเขียนรายงานการปฏิบัติ

3. การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินผลการปฏิบัติงานที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดหากผลของงานที่ได้รับเท่ากับมาตรฐานที่กำหนดไว้แสดงว่าการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพแต่หาผลของงานที่ได้รับต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้แสดงว่าการปฏิบัติงานด้านการตลาดขาดประสิทธิภาพ ผู้บริหารด้านการตลาดหรือผู้ที่รับผิดชอบในงานดังกล่าวต้องทำการศึกษาหาสาเหตุ เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้การปฏิบัติงานดำเนินอย่างถูกต้องและบรรลุผลสำเร็จตามมาตรฐานที่กำหนดต่อไป

4. การดำเนินการแก้ไข เมื่อทำการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วพบว่าการปฏิบัติงานทางการตลาดต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด หรือไม่สามารถดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายได้ ผู้บริหารของการตลาดต้องค้นหาสาเหตุ  เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขและกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่สามารถบรรลุสำเร็จตามเป้าหมายต่อไปได้

 

ระบบการตลาด  Marketing System

การดำเนินงานทางการตลาดให้ประสบผลสำเร็จนั้น นักการตลาดต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดมาจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของตลาดภายในให้สอดคล้องกับสภาพทางการตลาดภายนอกที่เกี่ยวข้อง โดยการกระทำดังกล่าวดำเนินการอย่างมีขั้นตอนต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า หรือ จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า ระบบ หรือการตลาด

ความหมายของระบบการตลาด มีผู้รู้ให้ความสามารถของระบบการตลาดได้หลายท่าน ดังนี้

ระบบการตลาด หมายถึง สนองความต้องการของลูกค้าและดำเนินการเคลื่อนย้ายคุณค่าของสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปยังลูกค้าหรือตลาด 

ระบบการตลาด หมายถึง การรวมตัวของระบบย่อยในตลาดโดยที่ระบบเจ้าย่อยของการตลาดจะดำเนิน

สรุปได้ว่า ระบบการตลาด  คือ การกระทำเพื่อให้เกิดการรวมตัวของกิจกรรมย่อยย่อยทางตลาด เพื่อทำงานให้ประสานสอดคล้องกันทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารทางการตลาดและกิจกรรมในการจำหน่ายจ่ายแจกเพื่อให้กิจกรรมย่อยย่อยทางการตลาดได้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่อง

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น